การออกกําลังกาย

การออกกําลังกาย

การออกกําลัง (Physical exertion)
การออกกําลัง หมายถึง การเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทําสิ่งต่าง ๆ ของกล้ามเนื้อในร่างกาย ถ้ากล้ามเนื้อที่ใช้มีขนาดใหญ่
ย่อมใช้พลังงานมากกว่ากล้ามเนื้อขนาดเล็ก เช่น การวิ่ง ย่อมใช้ พลังงานมากกว่าการเขียนหนังสือ ฯลฯ
การออกกําลังกาย (Exercise)
การออกกําลังกาย หมายถึง การออกกําลังที่เป็นแบบแผน มีการเตรียมตัวมาก่อน และมีการทําซ้ําด้วยเวลาที่แน่นอน
เพื่อให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดี เช่น การวิ่ง หรือเต้นแอโรบิก ที่ทําเป็นประจํา เป็นต้น
ธรรมชาติสร้างมนุษย์และสัตว์มาเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเป็นประจํา ถ้าทําการเคลื่อนไหว ไม่เพียงพอจะเกิดความปั่นป่วน
ทําให้สุขภาพเสื่อมโทรม ในที่สุดอาจจะเกิดโรคจนถึงกับเสียชีวิตได้ หากได้ออกกําลังบ้าง อาจจะแก้ไขภาวะที่ผิดปกติ
เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายและช่วยให้อายุ ยืนยาวขึ้นได้ การออกกําลังกายต้องจัดให้เหมาะกับภาวะของร่างกาย ถ้าจัดไม่เหมาะ
อาจจะไม่ได้ ผลที่ต้องการหรืออาจจะได้ผลร้าย
จุดประสงค์ของการออกกําลังกาย
จุดประสงค์ของการออกกําลังกาย คือ เพื่อให้มีการปรับตัวของระบบหัวใจและหลอดเลือด ในกล้ามเนื้อ
ตลอดจนการทํางานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ให้เข้ากับสภาวะที่ต้องใช้กําลังกายมากขึ้น
ซึ่งหมายถึงภาวะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นและทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
    1.1 ความดันโลหิตตัวบนสูงขึ้นและตัวล่างต่ําลงเนื่องจากการขยายตัวและปรับตัว ของเส้นเลือดในร่างกาย
    1.2 มีการหมุนเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยในกล้ามเนื้อมากขึ้น
    1.3 มีการสร้างความพร้อมในร่างกายมากขึ้น จึงมีการระบายความร้อนโดยเฉพาะ เส้นเลือดที่ผิวหนังจะมีการขยายตัวมากขึ้น
    14 เลือดฉีดออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น เพราะชีพจรเต้นเร็ว ปริมาณเลือดที่สนา แต่ละครั้ง จึงอาจเพิ่มขึ้นถึง 4-5 เท่าของภาวะปกติ
  2. การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
    2.1 การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ ทําให้ประจําเดือนมาไม่สม่ําเสมอ เมีน้อยลงถ้าฝึกหนัก ขนาดของต่อมหมวกไตใหญ่ขึ้น
    และถ้าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะ ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อ้วน จะทําให้การ
    ต้องการปริมาณยาน้อยลงได้ แต่ในรายผู้ป่วยที่ผอมและมีการควบคุมโรคเบาหวานที่ไม่ดี อาลอง ได้รับอันตรายได้
    ถ้าออกกําลังกายมาก
    22 ถ้าออกกําลังกายมาก ๆ เช่น นักวิ่งระยะไกล อาจพบว่ามีไข่ขาวในเม็ดเลือดแดง และสารฮีโมโกลบินในน้ําปัสสาวะได้
    แต่มักจะหายไปในเวลา 24-48 ชั่วโมง น้ําปัสสาวะจะมีลักษณะ เข้มข้นหลังการออกกําลังกาย และพบทั่วไปในเศษปัสสาวะได้บ่อย
    แพทย์จึงแนะนําให้ดื่มน้ํามาก ๆ หลังจากการออกกําลังกายมาอย่างหนัก
    2.3 ชีพจรเต้นช้าลงทั้งขณะฝึกและออกกําลังกาย 2.4 หัวใจจะโตขึ้นทั้งขนาดและปริมาตร ทําให้การสูบฉีดของเลือดได้มากขึ้น 2.5
    การแข็งตัวของเส้นเลือดที่จะทําให้เส้นเลือดเปราะได้ จะเกิดขึ้นช้าลง 2.6 เพิ่มระดับไขมันชนิด HDL
    ซึ่งเป็นผลดีต่อการป้องกันการเป็นโรคหัวใจ
    2.7 อาจจะพบว่ามีความผิดปกติในการทํางานของตับได้เล็กน้อย แต่ไม่เป็นปัญหา ต่อการออกกําลังกาย
    2.8 การสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจจะได้ครั้งละมากขึ้นกว่าปกติ และขณะออกกําลังกาย จะมีเลือดสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น
    2.9 เนื่องจากการฝึกฝนทําให้การหายใจไม่ต้องใช้พลังงานมาก แต่ได้ปริมาณการ ถ่ายเทอากาศหายใจเท่า ๆ กัน
    การใช้ออกซิเจนจะคงระดับอยู่ได้ ถ้าฝึกอยู่อย่างสม่ําเสมอ
    2.10 ความดันโลหิตตัวบนจะลดลง
    2.11 เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น

#ออกกำลังกาย #สุขภาพ #สุขภาพดี #ฝากเงินขั้นต่ำ50บาท

About Me

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก