
กลัวการเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นกับทุกคนไม่ว่าช่วงวัยไหน เด็ก ผู้ใหญ่ แม้แต่ผู้สูงวัย “อยู่ตรงนี้ก็ดีอยู่แล้ว” มักเป็นคำที่ใช้เพื่อปลอบใจตัวเอง การมองก้าวข้ามในสิ่งที่ตนเองมีอยู่แม้จะมีความเสี่ยงว่าอาจจะ “ดีกว่า” หรือ “ไม่ดีเลย”
หลายคนไม่กล้าเสี่ยงเพราะกลัวล้มเหลว แต่หลายคนกล้าที่จะเสี่ยงผลที่ตามมาชีวิตอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น พัฒนาตนเองจนประสบผลสำเร็จได้ดังเป้าหมาย ทั้งในหน้าที่การงาน การเงิน มีชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับ
การพัฒนาตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มักเกิดคำถามว่าจะพัฒนายังไง เริ่มจากตรงไหน จะทำได้จริงหรือ? เป็นคำถามที่รอให้คนที่กล้าเข้าไปสัมผัส หากทำแล้ว ตัวเองอาจจะพัฒนาในทางที่ดีขึ้นได้มากกว่าที่คิด
1. เริ่มต้นจากความคิดเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เจอแต่เรื่องดี ๆ
ลองสอดสายตามองไปรอบตัวแล้วคิดในเชิงบวกอยู่เสมอ ทุกอย่างไม่มีอะไรดีอะไรแย่ มัวแต่คิดว่าตนเองต้องล้มเหลว สุดท้ายก็จะได้รับผลอย่างนั้น คิดว่าไม่เก่ง ก็จะไม่มีวันเก่ง ลองเปลี่ยนความคิดแล้วตัดสินใจอย่างมั่นคงว่าจะปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างจริงจัง มุ่งมั่นให้เกิดความสำเร็จ แน่นอนว่าคิดบวก คิดดี ได้ดีอย่างแน่นอน
2. ตั้งเป้าหมาย และต้องทำลายให้ได้
วางกรอบแนวทางว่าสิ่งที่ต้องการพัฒนาตนเองด้านใดได้บ้าง จะได้รู้ทิศทางว่าจะต้องเดินไปทางไหน ทำอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แล้วมุ่งไปทำลายเพื่อความสำเร็จที่รออยู่ตรงหน้า

3. แรงจูงใจเมื่อสิ่งที่ทำไปประสบผล
เมื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ควรให้รางวัลแก่ตนเอง อาจเป็นสิ่งของที่อยากได้ หรือเป็นของขวัญจากคนรัก ญาติพี่น้อง ที่อยากเห็นเราประสบผลสำเร็จ สร้างความภาคภูมิใจ ผลักดันและมุ่งมั่นที่จะทำในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
4. ติดตามผลประเมินผลเป็นระยะ
กรอบที่ได้ตั้งใจว่าจะทำสำเร็จต้องวางระยะเวลาไว้ หากดำเนินการไม่สำเร็จตามแผน ควรนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไมไม่เป็นไปตามนั้น หรืออาจจะหาแผนสำรองเอาไว้เพื่อให้การพัฒนาตนเองบรรลุเป้าหมายในสิ่งที่ตั้งใจไว้
5. หาใครสักคนมาเป็นต้นแบบ
แรงจูงใจที่สำคัญคือบุคคลต้นแบบ คน ๆ นั้นประสบผลสำเร็จได้อย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร ลองศึกษาและเรียนรู้ว่าสิ่งที่บุคคลต้นแบบได้ลงมือทำนั้นเหมาะสมกับตนเอง หรือต้องนำไปแก้ไขปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามมา
6. ชีวิตใหม่ นิสัยใหม่
สร้างเสริมนิสัยโดยฝึกทำจนชินและต่อเนื่อง เป็นชีวิตวิถีใหม่ หลีกออกไปจากโลกใบเดิมที่เคยเจอ ควรทำอย่างน้อย 21 วัน และทำต่อไปจนกลายเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของชีวิต
7. ทำโทษ เมื่อไม่ได้ทำหรือทำแต่ไม่สำเร็จ
การจะพัฒนาตนเอง การกำหนดระยะเวลาเป็นเรื่องที่ควรทำ หากไม่สามารถทำได้ตามกำหนดมีบทลงโทษตัวเองไว้ เป็นการย้ำเตือนและฝึกตนเองให้มีวินัย แต่อย่าลืมให้โอกาสตนเองได้แก้ไขทุกครั้งที่ทำผิดพลาด

อย่าให้สมองมาควบคุมจิตใจ ควรฝึกจิตใจให้ควบคุมสมองบ้าง อยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นแต่สมองเนือยนิ่งไม่อยากจะทำ ร่างกายจึงไม่ตอบสนอง การฝึกจิตใจให้มีความตั้งมั่น ควบคุมไม่ให้สมองทำตามที่ชอบจนเกินไป ก่อเป็นนิสัย และผลสำเร็จก็จะเป็นดังที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน
เครดิตภาพ : kanotmaraton.com / engineerjob.co / kapook.com
#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #เทคนิคพัฒนาตนเอง