
แม่น้ำ Nile เป็นแหล่งอารยธรรมเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงผู้คนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีความน่าพิศวงหลายอย่างที่เกิดขึ้นในแม่น้ำแห่งที่นักภูมิศาสตร์และนักธรณีวิทยายังต้องค้นคว้าหาคำตอบ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงเกิดขึ้นแบบนั้นได้
แม่น้ำไนล์ตั้งอยู่ในใจกลางทวีปแอฟริกา เป็นสายน้ำที่ไหลผ่านมากกว่า 11 ประเทศเรียกได้ว่ามีความยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวประมาณ 6,700 กิโลเมตร รองลงมาแม่น้ำอเมซอนยาวประมาณ 6,800 กิโลเมตร และแม่น้ำแยงซีเกียงยาวประมาณ 6,300 กิโลเมตรตามลำดับ โดยมีต้นกำเนิดมาจากทะเลสาบวิกตอเรีย
จากการรวมตัวของแม่น้ำสายใหญ่จำนวน 2 สายคือ แม่น้ำบลูไนล์ จากประเทศเอธิโอเปีย และไวต์ไนล์จากแอฟริกาตะวันออก บริเวณประเทศแทนซาเนีย อูกานดาและเคนยา ไหลขึ้นไปทางเหนือผ่านซูดาน และผ่าครึ่งอียิปต์ออกเป็น 2 ฟากฝั่ง ก่อนจะไปจบที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นับว่าแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนในทวีปมายาวนานหลายสิบล้านปี จนเกิดอารยธรรมโบราณเกิดขึ้นมากมาย เช่น อียิปต์และไอยคุปต์ เป็นต้น

– ปริศนา Nile ไม่เคยเปลี่ยนเส้นทาง
แม่น้ำทุกสายต้องมีการเปลี่ยนเส้นทางเสมอเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป แต่สำหรับแม่น้ำแห่งนี้ไม่เคยเปลี่ยนเส้นทางมายาวนานกว่าสามสิบล้านปี เมื่อไม่นานมานี้ได้พบหลักฐานที่สามารถระบุได้ถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวแล้ว โดยนักธรณีวิทยาจากมหาวิยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าบริเวณธรณีสัณฐานข้างใต้ของแม่น้ำไนล์ มีลักษณะที่ลาดเอียงลงไปเรื่อย ๆ จากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือของทวีป สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยระบบไหลเวียนของเนื้อโลกหรือ Mantle ชนิดพิเศษ
ซึ่งเป็นชั้นของเนื้อโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกและแก่นของโลก ประกอบไปด้วยหินแข็งและโลหะจะเคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากเป็นกระบวนการพาความร้อนจากแก่นโลกขึ้นมาพื้นผิวด้านบน จากการใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ส่วนเนื้อโลกนี้มีระบบไหลเวียนแยกจากส่วนอื่น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายสิบล้านปีแล้ว การไหลเวียนนี้เป็นแบบสายพาน ดันให้พื้นที่บริเวณต้นน้ำเอธิโอเปียยกสูงและพื้นที่อื่น ๆ ค่อยลาดต่ำ ทำให้มีความแตกต่างระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังพบหินภูเขากระจายตัวอยู่ในชั้นดินตะกอนตลอดสายอีกด้วย ทำให้แม่น้ำสายนี้ไม่เคยเปลี่ยนเส้นทางนั่นเอง

– การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของแม่น้ำ Nile
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นในแม่น้ำไนล์ เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เริ่มมีการก่อสร้างเขื่อน “แกรนด์ เอธิโอเปียน เรนส์-ซองซ์” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีความตั้งใจให้เป็น โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา หรือมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก อัตรากำลังผลิต 6.45 กิกะวัตต์ ด้วยงบประมาณการก่อสร้างกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้หลายประเทศได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้น เพราะกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตรเป็นหลัก ยิ่งสภาพอากาศที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ ไคล เมต เชนจ์ จะยิ่งมีผลกระทบมากยิ่งขึ้น ปัญหาการแย่งชิงและการแบ่งปันน้ำอาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามมา
น้ำคือแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ อียิปต์เป็นประเทศที่ใช้แม่น้ำไนล์มากที่สุดเพราะมีที่เพราะปลูกมากกว่า 19 ล้านไร่ แม้ว่าจะความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากน้ำแห่งนี้แต่ก็ไม่ชัดเจนมากนัก แนวทางความร่วมมือเพื่อวางแผนแบ่งปันการใช้ร่วมกันในอนาคตเกิดขึ้นมาบ้าง อย่างไรก็ตามสายน้ำแห่งนี้แม้ว่าธรรมชาติจะไม่ทำร้ายให้เปลี่ยนเส้นทาง แต่มนุษย์เราต่างหากที่กำลังจะทำให้เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
เครดิตภาพ : lekmedee.blogspot.com / bbc.com / pixabay.com
Youtube:
https://www.youtube.com/watch?v=VMBdZWAohvs 10 อันดับ แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก
https://www.youtube.com/watch?v=ZAZdesLQQzY Nile River แม่น้ำแห่งชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ
https://www.youtube.com/watch?v=Ig8vO0zPugI แปลกแต่จริง!! แม่น้ำไนล์ ไหลไม่เปลี่ยนทิศทางมา 30 ล้านปี จริงหรือไม่
#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #แม่น้ำไนล์