ทรัพย์มรดก

ทรัพย์มรดก เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ ทรัพย์มรดก

         คนเราเกิดมาเมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีหน้าที่การงานทุกคนหวังสร้างฐานะตัวขึ้นมาจนมีทรัพย์สิน จะมีมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความพร้อมและความสามารถของแต่ละคน บางคนก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรแถมยังมีหนี้ด้วย เมื่อยังมีชีวิตอยู่และมีทายาทคนที่ไม่ประมาทกับชีวิตก็จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฏหมายมรดกเอาไว้ก่อนเพราะชีวิตคนเราไม่แน่นอนความตายอาจจะมาถึงโดยที่เราไม่ได้เตรียมตัวหรือเตรียมใจเมื่อใดก็ได้ คนที่มีทรัพย์มรดกมากบางคนก็ที่ไม่ประมาทเขาจะเตรียมทำรายการทรัพย์สินเอาไว้และแบ่งแยกรายการทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินสมรสออกจากกัน

ทรัพย์มรดก เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ ทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดก

ทางที่ดีก็ควรทำพินัยกรรมไว้ให้แก่ทายาทเลย เพราะหากเสียชีวิตไปโดยที่มีทายาทหลายคนก็จะเป็นเรื่องยุ่งยากตกแก่ทายาทในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งบางกรณีก็ตกลงกันระหว่างทายาทไม่ได้ต้องอาศัยอำนาจศาลเพื่อหาข้อยุติให้ก็มีอยู่บ่อย

– ทรัพย์มรดกคุณแม่

         ผู้เขียนมีประสบการณ์ครั้งแรกในการเป็นผู้จัดการมรดกกิดขึ้นนานมากแล้ว ทรัพย์มรดกคือที่ดินของคุณแม่ของผู้เขียนเอง คุณแม่ท่านเสียชีวิตไปตั้งแต่พ.ศ. 2514 แล้ว แต่คุณน้าซึ่งเป็นน้องชายของท่านมาแจ้งให้ทราบหลังจากคุณแม่เสียชีวิตมาเป็นสิบปีว่าคุณแม่ยังมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมอยู่ในโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งในต่างจังหวัด จึงต้องมีการตั้งทายาทมาจัดการมรดกส่วนนี้ แต่ตอนนั้นผู้เขียนอายุน้อยมากยังไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายมรดก

คุณน้าจึงทำหน้าที่จัดหาทนายและยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้เขียนเป็นผู้จัดการมรดกของคุณแม่ ผู้เขียนเองมีหน้าที่ไปให้ปากคำศาลในวันที่นัดสืบพยาน ภายหลังศาลจึงมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของคุณแม่ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันผู้เขียนยังไม่ได้รับมรดกนี้เลยโดยพี่และน้องก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว เนื่องจากที่ดินของคุณแม่แปลงนี้เป็นที่ตาบอดและไม่มีถนนเข้า จึงน่าจะไม่มีคนสนใจที่จะซื้อ อีกเหตุผลหนึ่งคือที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของร่วมหลายคน จึงไม่ง่ายที่จะตกลงกันได้ในการขายที่ดินแปลงนี้

ทรัพย์มรดก เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ ทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดก

– ทรัพย์มรดกคุณอา

         เมื่อปี พ,ศ. 2555 คุณอาของผู้เขียนซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกเสียชีวิตและไม่มีพินัยกรรม ผู้เขียนได้รับการยินยอมพร้อมใจจากทายาทที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่จัดการมรดกของคุณอา คงจะเป็นเพราะมีความใก้ลชิดกับท่านมาตลอดและเป็นหลักในการดูแลเมื่อท่านป่วย ตลอดจนเป็นหลักในการจัดการงานฌาปณกิจของท่าน ในครั้งนี้ผู้เขียนอายุมากและมีความรู้ในทางกฏหมายแล้ว จึงศึกษากฏหมายมรดกและสิทธิของทายาทเพิ่มเติม ทายาทมีสองประเภทคือ ทายาทโดยพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม ในกรณีของคุณอานี้ไม่มีพินัยกรรม ดังนั้นทรัพย์มรดกจึงต้องตกแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งทางกฏหมายคือ คู่สมรสและผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานคือ บุตรและหลาน, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คุณอาท่านเป็นคนโสดและพ่อและแม่ก็เสียชีวิตไปนานแล้ว ในขณะนั้นคือยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาของท่านอีกสามคน ทั้งสามท่านได้ลงนามในหนังสือยินยอมให้ผู้เขียนเป็นผู้จัดการมรดก คุณอามีหลานหลายคน คือผู้เขียนและพี่น้องรวมสามคนซึ่งเป็นลูกของพี่ชายคือคุณพ่อของผู้เขียนซึ่งท่านเสียชีวิตไปแล้ว มีหลานสองคนเป็นเป็นลูกของน้องชาย และมีหลานอีกสองคนซึ่งเป็นลูกของน้องสาว นอกจากนี้ยังมีหลานสาวอีกสองคนซึ่งเป็นลูกของคุณพ่อของผู้เขียนกับภรรยาใหม่

ทรัพย์มรดก เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ ทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดก

ดังนั้นจึงมีหลานทั้งหมดเก้าคน หลานคนอื่นที่เป็นลูกของน้องชายและน้องสาวของคุณอาไม่ได้ติดใจหรือให้ความสนใจที่จะคัดค้านการขอจัดการมรดกและไม่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในทรัพย์สิน ส่วนหลานอีกสองคนซึ่งเป็นลูกของคุณพ่อกับภรรยาใหม่ไม่สามารถติดต่อได้เพราะตอนหลังไม่ได้ติดต่อกันและไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน แต่ความจริงทราบภายหลังว่าภรรยาใหม่ของคุณพ่อก็อยากที่จะให้ลูกของเขาได้มีส่วนในทรัพย์มรดกด้วย แต่เขาคงไม่กล้าร้องค้านต่อศาล หากเขาไปร้องค้านต่อศาลแล้วการร้องขอจัดการมรดกคงมีปัญหาและยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้นจึงมีแต่เพียงพี่ชายและน้องชายของผู้เขียนเท่านั้นที่ลงนามในหนังสือยินยอม

สิ่งต่อมาที่จะต้องทำคือการทำแผนผังครอบครัว โดยจะต้องให้ข้อมูลทายาททั้งหมดทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตแล้วลงในแผนผัง อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการทำรายการทรัพย์มรดกโดยรวบรวมรายการทรัพย์สินทั้งหมดของคุณอาเท่าที่จะรวบรวมได้ เพื่อเป็นหลักฐานให้ศาลพิจารณา

เมื่อรวบรวมหลักฐานต่างๆได้แล้วก็ถึงขั้นตอนของการแต่งตั้งทนาย หน้าที่ของทนายคือให้คำแนะนำและเป็นผู้รวบรวมหลักฐานต่อศาลและทำคำร้องยื่นต่อศาล คอยติดต่อประสานงานเรื่องวันที่ศาลนัดพิจารณาคำร้อง แต่หน้าที่ของผู้ร้องคือต้องรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วนและไปให้การต่อศาลในวันพิจารณารวมทั้งรอคำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิ์รับเอาทรัพย์มรดกทั้งหมดมาเป็นของตัวเองแต่มีหน้าที่แบ่งทรัพย์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งหากไม่ทำดังนี้แล้ว ทายาทคนอื่นมีสิทธิ์ร้องต่อศาลเพื่อถอดถอนได้ ขอแนะนำว่าสิ่งที่สำคัญหากได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ ท่านจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฏหมายมรดกให้มีความรู้พอสมควรไว้ก่อนจะดีที่สุด

เครดิตภาพ Terrabkk, Dotproperty, ปรึกษาทนายความ

#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #ทรัพย์มรดก

About Me

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก