พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

         เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายการเทอดพระเกียรติต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ พระวิสัยทัศน์ และพระปณิธานในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนไทยเพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย

         พร้อมกันนั้นคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เนื่องจากวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงอำนวยการการสาธิตการทำฝนเทียมเป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ปรากฏว่าการสาธิตการทำฝนเทียมในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จอย่างดีท่ามกลางสายตาของประชาชนคนไทยและแขกรับเชิญจากต่างประเทศจำนวนมาก

         เทคโนโลยีการทำฝนเทียมดังกล่าวมีความเป็นมาจากการที่ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการทำการเกษตรให้กับประชาชน ทรงพระราชทาน “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” โดยมอบหมายให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการคิดค้นวิธีการโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การสนับสนุนข้อมูลและความรู้ต่างๆ

         ต่อมาจึงเกิดโครงการค้นคว้าปฏิบัติการทางเทคโนโลยีฝนเทียมภายใต้การดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2512 หลังจากความสำเร็จของโครงการจึงมีพระราชกฤษฎีกาตั้งสำนักงานฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการต่อไป

         เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จไปที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาและแก้ปัญหาดินเป็นกรด โดยทรงให้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำมาชะล้างกรดออกจากดิน ทำให้ดินมีประสิทธิภาพจนสามารถปลูกข้าวได้ ซึ่งเทคโนโลยีสามารถนำไปขยายผลในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจนเป็นที่มาของโครงการแกล้งดินในเวลาต่อมา

         โครงการแกล้งดินเป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องดินเปรี้ยวในพื้นที่เขตร้อนอันมีสาเหตุมาจากสภาพพื้นที่ป่าพรุ ทำให้สามารถฟื้นฟูสภาพดินที่เคยเสียให้กลับมาทำการเพาะปลูกได้อีก ซึ่งยังไม่มีประเทศใดในโลกสามารถทำได้สำเร็จ ต่อการมีการจัดทำเป็นตำราเผยแพร่ไปทั่วโลก

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย

         วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เนื่องในวโรกาสที่มีพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักนวัตกรรมของพระองค์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาทางด้านดิน พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปีเป็น             วันนวัตกรรมแห่งชาติ

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการหาทางทดสอบทดลองเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาการทำมาหากินของราษฎร วิธีคิดของพระองค์มีหลักการที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีความเป็นองค์รวม และอยู่บนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ ที่สำคัญคือต้องเป็นวิธีการที่ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ร่วมด้วยและทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

         ในการทรงงานด้านเทคโนโลยีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สิ่งที่สำคัญคือ การไฝ่รู้และการใส่ใจ กิจกรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติจะทรงเน้นถึงเหตุและผลของกิจกรรมนั้น จากการไฝ่รู้และการใส่ใจทำให้เกิดวิธีการทรงงานที่มีหลักมีเกณฑ์ เข้าใจได้เป็นระบบ และเหนืออื่นใดคือต้องมีความง่าย เพื่อที่ชาวบ้านสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้

         เริ่มทำงานอย่างมีระบบ หาข้อมูลที่จำเป็นจากแหล่งที่สมควร เมื่อเริ่มงานจำเป็นต้องรู้สถานะที่เป็นจริงในปัจจุบันก่อน เพื่อสร้างความชัดเจนของโครงสร้างของงานเพื่อจะได้รู้กำลังความสามารถและวิธีการด้านเทคโนโลยีทางปฏิบัติให้ถูกต้อง

         ในการทำงานจะต้องมีการวิเคราะห์ทดสอบและทดลองทางเทคโนโลยี หากจะต้องทำการทดสอบในหลายๆแห่ง อาจจะต้องมีตัวแบบ (Model) เพื่อใช้ในการทดสอบแบบจำลอง (Simulation)

         ในการทำโครงการทางเทคโนโลยี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คนเป็นศูนย์กลางของเรื่อง กิจกรรมต่างๆของพระองค์ท่านจึงใช้การมองแบบเป็นองค์รวมเป็นสำคัญและมองเป็นระบบนิเวศน์ (Ecosystem) วิเคราะห์ผลกระทบทางกายภาพและทางเศรษฐกิจสังคมประกอบ

         ในการบริหารปัจจัยทางเทคโนโลยีที่หลากหลายจะต้องมีกระบวนการจัดการสำหรับงานแบบบูรณาการโดยจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานและมีงานหลายประเภทที่สามารถเชื่อมโยงประกอบกันได้เป็นงานใหญ่ ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนแต่ละฝ่ายจะมีงานเฉพาะของตนเองและเป็นคนละรูปแบบ แต่ต้องมีความสัมพันธ์กันและสามารถที่จะนำงานมารวมกันเพื่อขับเคลื่อนงานโดยรวมให้ดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรรมของไทย

         สมัยที่เกิดโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จไปเยี่ยมชาวเขาเผ่าแม้วที่ดอยปุย ทรงทอดพระเนตรเห็นชาวเขาปลูกฝิ่นเป็นอาชีพจึงทรงถามชาวเขาว่าขายฝิ่นและขายลูกท้อได้เงินเท่าไร เมื่อทราบข้อมูลจากชาวเขาว่าเงินที่ขายได้ไม่ต่างกันเท่าไร จึงทรงมีพระราชดำริจะใช้เทคโนโลยีในการหาวิธีการให้ชาวเขาเปลี่ยนปลูกพืชอย่างอื่นมาทดแทนฝิ่น นี่คือต้นกำเนิดของการเกิดขึ้นของโครงการหลวงในเวลาต่อมา

เครดิตภาพ MThai, Reallist

#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

About Me

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก