วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย

วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ วิธีบรรยายการดำเนินเรื่องในนิยาย

            การบรรยายเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญของการเขียนนิยาย เพราะหากมีการบรรยายที่ดีก็จะทำให้นักอ่านสามารถเห็นภาพการดำเนินเรื่องและความรู้สึกของตัวละครได้อย่างชัดเจนเสียยิ่งกว่าดูเป็นละครหรือซีรีย์ในโทรทัศน์ แต่หากคุณบรรยายเพียงน้อยนิดและมีแต่บทสนทนาก็จะกลายเป็นความเรียบง่ายเกินไป ผู้อ่านจะไม่สามารถเห็นถึงรายละเอียดของฉากหรือรับรู้ความงดงามตามท้องเรื่องได้เลย

ในวันนี้เราจึงอยากมาแนะนำวิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยายให้เหล่านักเขียนมือใหม่ได้เข้าใจกัน

วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ วิธีบรรยายการดำเนินเรื่องในนิยาย
วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย

– บรรยายหลังบทสนทนาของตัวละครในนิยาย

               การบรรยายหลังบทสนทนาของตัวละครในนิยาย เป็นการบรรยายบอกให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่าตัวละครนั้นใช้น้ำเสียงการพูด การกระทำหลังจากที่พูดหรือทำไปพร้อม ๆ กับการพูด รวมถึงมีแววตาอย่างไร เพราะบทสนาที่มาแบบเป็นประโยคเปล่า ๆ แม้เวลาอ่านบางประโยคเราจะสามารถเข้าใจถึงความคิดและเห็นน้ำเสียงของผู้พูดที่แสดงความรู้สึกออกมาผ่านสำนวนภาษาที่ใช้ในการพูดประโยคนั้น ๆ ได้

แต่กับบางประโยคก็ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านได้ชัดเจนและนักเขียนบางคนก็ย่อมอยากจะเพิ่มอรรถรสให้ผู้อ่านได้สัมผัสถึงรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านการแสดงออกภายนอกด้วย เช่น  “ฉันไม่อยากอยู่ตรงนี้แล้ว” เป็นต้น หากเป็นประโยคเดี่ยวที่ไร้คำบรรยาย แต่มีบทสนทนาของตัวละครอื่นต่อจากประโยคของตัวละครนั้น คนอ่านก็อาจไม่แน่ใจได้ว่า ผู้พูดประโยคก่อนหน้ายังอยู่แบบไม่เต็มใจหรือเดินไปแล้วกันนะ? แต่หากคุณมีการบรรยายว่า “ฉันไม่อยากอยู่ตรงนี้แล้ว” ชายหนุ่มบอกด้วยน้ำเสียงเบื่อหน่ายก่อนจะเดินออกไป ทิ้งให้ฝนออดอ้อนอยู่แต่กับเพชรคนเดียวไปอย่างนั้น เป็นต้น

วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ วิธีบรรยายการดำเนินเรื่องในนิยาย
วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย

– บรรยายคั่นประโยคสนทนาของตัวละครในนิยาย

               การบรรยายคั่นประโยคสนทนาของตัวละครในนิยายเป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่านรู้ว่าตัวละครพูดประโยคหนึ่งแล้วมีการหยุดทำอะไรในระหว่างนั้น ก่อนจะเริ่มพูดประโยคถัดมาเช่นเดิม เพราะหากเป็นประโยคที่ตัวละครคนเดิมพูดคนเดียว ปกติแล้วก็จะไม่ต้องมีการขึ้นบรรทัดใหม่เหมือนตัวละครที่สนทนาโต้ตอบสลับกัน

แต่หากยาวเกินไปก็อาจทำให้นักอ่านรู้สึกลายตาหรือเข้าใจยาก ดูไม่สมเหตุสมผลในการใช้สำนวนพูดที่เหมือนคนจริงซึ่งตามธรรมชาติจะไม่ได้ยาวขนาดนั้น จึงต้องมีการบรรยายคั่นประโยคของผู้พูดคนเดิมบ้าง เช่น “ฉันมีอะไรจะให้” เชนกล่าวขึ้นกับพิมพ์พัทธาด้วยรอยยิ้ม ก่อนจะหยิบกิ๊บลายดอกกล้วยไม้ออกมาจากกระเป๋าเสื้อแล้วส่งให้อีกฝ่าย “เห็นเธอบอกว่าตามหามันมาเป็นอาทิตย์แล้วแต่ไม่เจอสักที เมื่อวานพอดีฉันไปทำธุระที่ห้างแล้วเจอมันเลยซื้อมาเป็นของขวัญฝากให้”

วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ วิธีบรรยายการดำเนินเรื่องในนิยาย
วิธีบรรยายระหว่างการดำเนินเรื่องในนิยาย

– บรรยายแต่ละย่อหน้าที่ขึ้นใหม่ในนิยาย

               การขึ้นย่อหน้าใหม่เพื่อบรรยายปกติจะใช้ในการเปลี่ยนฉากโดยบอกเล่าถึงรายละเอียดของสถานที่ จุดเด่น  หรือการกระทำของตัวละครในฉากนั้นที่มีความชัดเจน ไปจนถึงความรู้สึกของตัวละครประกอบการกระทำนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีความประณีตในการบรรยายมาก เพราะเป็นรูปแบบการบรรยายในนิยายที่จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพตามจนได้อรรถรสมากเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่างเช่น ภายในร้านกาแฟขนาดกะทัดรัดที่จัดแบบอิงลิชคอทเทจเป็นโทนสีขาวสะอาดดูเรียบง่ายและคลาสสิกตัดเข้ากับบรรยากาศความโดดเด่นของสีสันธรรมชาติด้านนอกที่ถูกตกแต่งด้วยสวนสไตล์อังกฤษซึ่งกินเนื้อที่กว้างขวาง หญิงสาวที่นั่งรอการมาของเพื่อนเก่าที่ติดต่อไปหาตั้งแต่เมื่อคืนยังคงจิบกาแฟพลางอ่านหนังสือรอฆ่าเวลาอย่างใจเย็น ด้วยรู้ว่าวีณามักจะมาสายกว่าเวลานัดไปประมาณห้านาที แต่ก็ไม่เคยเกินจากนี้ทำให้เธอไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร เป็นต้น

รูปภาพประกอบ : Pixabay

#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #วิธีบรรยายการดำเนินเรื่องในนิยาย

About Me

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก