สวัสดีค่ะ ทุกคนทราบกันไหมคะว่าภาษามือเป็นแบบไหนแล้วแต่ละประเทศใช้ภาษามือแบบไหน และรู้เรื่องกันหรือเปล่า ซึ่งเรื่องราวของวันนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษามือและกลไกลวิธีการใช้งานค่ะ

– กำเนิดภาษามือ
ถึงเราจะเรียกภาษามือว่า ภาษามือนะคะแต่ว่าแล้วภาษามือประกอบไปด้วย
1.ท่ามือ
2.สีหน้า
3.การเคลื่อนไหวร่างกาย
4.รวมไปถึงส่วนต่างๆอื่นๆ

ปัจจุบันนี้เราจะคุ้นเคยกันดีว่าภาษามือนั้นเป็นของชุมชนคนหูหนวก แต่ภาษามือนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมากับคนหูหนวกอย่างเดียว สมัยโบราณนั้นเราใช้ภาษามือกันมานานแล้ว โดยใช้มือทำสัญลักษณ์ท่าทางต่างๆ อย่างในปี 1492 เราก็จะเห็นหลักฐานว่าชนพื้นเมืองอเมริกันเขาใช้ภาษามือในการสื่อสาร ระหว่างชาวต่างชาติรวมถึงกับสื่อสารกับคนหูหนวกอยู่แล้ว ภาษามือที่แบบใกล้เคียงที่เราใช้ในทุกวันนี้ก็ในช่วงศตวรรษที่ 16 โดยนักบวชชื่อว่า Pedro Ponce de Leon
เพราะว่าในวันหนึ่งนักบวชจะต้องเวลาอยู่เงียบๆดังนั้นเขาเลยคิดว่าควรจะมีอะไรอยากเอาไว้สื่อสารระหว่างเวลาเงียบนั้นหลังจากนั้นไม่นาน นักบวชชื่อว่า Juan Pablo Bonet นำเอาสิ่งที่ท่านคิดไปต่อยอดภาษามือมาสร้างให้เป็นระบบ เรียกว่า Demonstr ative Alphabet ก็คือการใช้มือขวาทำสัญลักษณ์แทนอักษรแต่ละตัว
จนกระทั่งในปี 1755 ภาษามือถึงขั้นแพร่หลาย มีนักบวชท่านหนึ่งชื่อว่า Charles Michel de l’Epee เข้ามาทำให้ภาษามือเป็นระบบยิ่งกว่าเดิมมีการเอาไปสอนในโรงเรียนแบบจริงจังเลย เลยได้ออกมาเป็น พจนานุกรมภาษามือ จึงได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป

– ภาษาสื่อสารอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น คำว่า กวาง ก็จะทำมือให้เห็นภาพแบมือทั้งสองและชูขึ้นเป็นต้น แต่คำว่าบางคำก็ไม่ได้คลอบคลุมทุกอย่าง
– ภาษามือทั่วโลกเหมือนกันไหม
คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะว่าภาษามือเป็นพัฒนาการมาจากกลุ่มต่างๆที่พยายามจะสื่อสารกันด้วยมือ หลังๆค่อยๆพัฒนามาในกลุ่มตัวเอง แล้วค่อยมีการจัดระเบียบและทุกวันนี้ทั่วโลกมีภาษามือมากกว่า 300 ภาษาด้วยกันดังนั้นต่อให้เป็นคนใช้ภาษามือเวลาจะไปคุยกับต่างชาติก็ต้องไปเรียนภาษาใหม่อีกรอบ
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภาษามือที่เรานำมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะและหวังว่าทุกคนจะชอบนะคะ
เครดิต : Point of View
#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้ทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #สาระน่าสนใจ #ภาษามือ