มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ

มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ

เมื่อไม่กี่วันก่อน ใครหลายคนอาจจะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ‘ฮาบิกิส’ หรือไต้ฝุ่นหมายเลข 19 ที่เข้าถล่มประเทศญี่ปุ่น ซึ่งความแรงของพายุนั้นประมาณเฮอริเคนระดับ 5 เลยทีเดียว คนที่ติดตามข่าวอาจได้เห็นความเสียหายที่เกิดจากพายุกันแล้ว

ในวันนี้เราจึงจะพาเจาะลึกเกี่ยวกับพายุในแต่ละประเภทและระดับต่าง ๆ ของพายุว่าเขาแบบกันอย่างไร ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะเรียกพายุไม่เหมือนกันอีกด้วย มีทั้งไต้ฝุ่น เฮอริเคน ไซโคลน ทอร์นาโด แล้วเขาแบ่งกันอย่างไร เราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

เริ่มต้นเรามารู้จักความหมายของพายุกันก่อน

พายุ คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลม 2 บริเวณที่มีอุณหภูมิต่างกันอย่างมาก ซึ่อากาศที่เกิดในพื้นที่ความกดอากาศสูงจะลอยตัวขึ้น แล้วอากาศจากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำได้เข้ามาแทนที่ในแนวราบอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ จากนั้นก็กลายเป็น พายุ นั่นเอง

พายุแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ
มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ

ประเภทแรกคือ พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) จะเกิดขึ้นในที่ที่มีความร้อนและความชื้นสูง ซึ่งโดยปกตอจะเกิดในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ประเทศไทยของเราจะเจอพายุแบบนี้บ่อย ลักษณะของพายุนี้คือ ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน มีลมแรง

มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ
มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ

ประเภทที่สองคือ พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) จะเกิดขึ้นเมื่อหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดแถว ๆ ผิวน้ำทะเลหรือมหาสมุทรที่อุณหภูมิสูงเกิน 27 องศาเซลเซียส ลักษณะของพายุนี้คือ เราจะเห็นเป็นลมหมุนอย่างชัดเจน มีขนาดใหญ่เป็นวงกว้าง มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตร พายุนี้จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ถ้าเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา

ความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนแบ่งแยกย่อยได้อีก คือ

– พายุดีเปรสชั่น (Tropical Depression) ความรุนแรงน้อยที่สุด มีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางไม่ถึง 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ลักษณะของพายุจะหมุนเป็นวงกลม ตาพายุไม่ชัดเจน ความรุนแรงไม่ถึงขั้นพัดบ้านเรือนได้ แต่อาจจะเกิดน้ำท่วมหากมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ประเทศไทยมักจะพบพายุแค่ระดับนี้

– พายุโซนร้อน (Tropical Strom) ความรุนแรงปานกลาง มีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางไม่ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เกิดจากพายุที่เกิดขึ้นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งไปเจอกับความกดอากาศที่ต่างกัน ทำให้เกิดฝนตกหนัก มีลมแรง แรงขนาดสามารถพังบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงได้เลย

– ไต้ฝุ่น (Typhoon) หรือเฮอริเคน (Hurricane) ความรุนแรงสูงสุด มีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป สามารถมองเห็นตาพายุได้ชัดเจน สามารถทำลายบ้านเรือนได้อย่างรุนแรง ให้เกิดน้ำท่วมอย่างกะทันหัน และเป็นอันตรายสำหรับการเดินเรือ

‘ไต้ฝุ่น’ จะใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก

‘ไซโคลน’ จะใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นที่มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ

‘วิลลี-วิลลี’ จะใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นที่มหาสมุทรรอบ ๆ ออสเตรเลียและหมู่เกาะต่าง ๆ

‘บาเกียว’ จะใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นที่หมู่เกาะฟิลิปปินส์

‘เฮอริเคน’ จะใช้เรียกพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นที่มหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกหรือทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ
มารู้จัก ‘พายุ’ ในแบบต่าง ๆ

ประเภทที่สามคือ พายุหมุนทอร์นาโด (Tornado) จะพบบ่อยในอเมริกาเหนือ พายุนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อลมร้อนและลมเย็นมาปะทะกัน พายุจะมีลักษณะเป็นพายุเกลียววงช้างอย่างชัดเจน และเป็นลมที่สามารถดูดเอาบ้านเรือนทีไม่แข็งแรงหรือสิ่งของที่ไม่หนักมากได้ พายุนี้ก่อตัวได้รวดเร็ว แต่จะหายไปเมื่อไปเจออุณหภูมิที่เหมือนกัน แต่ก็เป็นพายุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

#เรื่องทั่วไป #ความรู้รอบตัว #Howto #เทคนิคต่างๆ #ufabet

About Me

ข่าวสารทั่วไป เรื่องทั่วไป เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว สาระน่าสนใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวทุกคน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ชีวิตง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงมาก