โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ใคร ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ทุกคน บางคนอาจจะเป็นโดยไม่รู้ตัว บางคนพอเป็นแล้วมักจะชอบเบตัวหรือบางทีก็ออกไปทำร้ายร่ายการผู้อื่น ซึ่งเรามักจะเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามข่าวออนไลน์ และเมื่อครั้งที่แล้วเราก็ได้รู้จักกับสาเหตุที่ส่งผลเป็นโรคซึมเศร้าไปแล้ว ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกกับโรคซึมเศร้ากันต่อค่ะ
โรคซึมเศร้ามีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
1.
Major Depression แบบรุนแรง
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดจากการที่ภาวะซึมเศร้าเข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
ทำให้ไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต การทำงาน การนอน การกิน เป็นติดต่อกันอย่างน้อย 2
อาทิตย์ ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการซึมเศร้าเป็นครั้งๆ แล้วก็มีอาการดีขึ้น
แต่ก็สามารถกลับมามีอาการแบบนี้ได้อีก
2.
Dysthymia หรือ
Persistent Depressive Disorder โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
เป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ค่อยแสดงอาการรุนแรง
แต่จะเป็นแบบนี้ไปต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และมักจะแสดงอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
– ทานอาหารได้มากขึ้นกว่าเดิมหรือน้อยลงกว่าเดิม
– นอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับ
– อ่อนแรง อ่อนเพลีย
– รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า Self Esteem ต่ำ
– โฟกัสกับสิ่งที่อยู๋ตรงหน้าไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ยาก
– รู้สึกสิ้นหวัง (ตามเกณฑ์ของการวินิจฉัยจาดสมามคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา DSM-V)
ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังอาจจะมีภาวะซึ่มเศร้าแบบรุนแรงร่วมด้วย ทำให้ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานของผู้ป่วย
3.
Bipolar หรือ
Manic-depressive Illness โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว
ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแบบอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ด้วย
ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปวนรุนแรงสลับกับอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania)
อาจจะมีอารมณ์สนุกเกินไปพูดมากกว่าปกติ กระตือรือร้นมากกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่แสดงออกมาก
ค่อยเป็นค่อยไป แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และถ้าผู้ป่วยไม่ได้เข้ารักษาอย่างถูกวิธี อาจจะกลายเป็นโรคจิตเภทได้

นอกจากนี้ยังมีอาการซึมเศร้าอื่น ๆ ที่ทางการแพทย์ยอมรับ ได้แก่
1.
Postpartum Depression โรคซึมเศร้าหลังคลอด
ในช่วงหลังคลอด คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการซึมเศร้ารุนแรง
ซึ่งใช้เวลาสักพักกว่าจะกลับมาเป็นปกติ ได้มีการเรียกอาการซึมเศร้าหลังคลอดว่า ‘Baby
blues’
2. Seasonal Affective Disorder หรือ SAD โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการซึมเศร้าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ อากาศ แสงแดดมีน้อยและมีลมหนาว ส่วนใหญมักจะพบกับผู้คนที่อยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มีหิมะ
3.
Premenstrual Dysphoric Disorder โรคซึมเศร้าก่อนเป็นประจำเดือน
ผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการซึมเศร้าก่อนช่วงเป็นประจำเดือนหรือหลังเป็นประจำเดือนประมาณ
1 อาทิตย์
4. Psychotic Depression โรคซึมเศร้าโรคจิต
ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ารุนแรง อาจจะมีอาการทางจิต อย่างเช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว
#เรื่องทั่วไป #ความรู้รอบตัว #Howto #เทคนิคต่างๆ #บอล ออนไลน์ 168