แชร์กันกระหน่ำในอินเทอร์เน็ต กรณีมีการขายยาสลบรูปแบบ “ยาป้ายสลบ” เพื่อหวังผลปล้นทรัพย์หรือล่วงละเมิดทางเพศ ยาเหล่านี้จะมีจริงหรือไม่ อย.มีคำตอบ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แชร์ข้อมูลยาป้ายทำให้สลบ จริงหรือ? ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับยาสลบกันก่อน ยาสลบมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นยาสลบชนิดสูดดม หรือยาสลบชนิดฉีด ยาสลบเป็นยาที่กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกตัว ง่วงซึม มึนงง เคลื่อนไหวลำบาก
แล้วยาป้ายที่มีการแชร์กันทำให้สลบได้ทันทีจริงหรือไม่ คำตอบคือ #ไม่จริง เพราะผิวหนังของคนเรามีทั้งหมด 3 ชั้น ได้แก่
1. หนังกำพร้า (Epidermis)
เป็นชั้นของผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บนสุด จะประกอบไปด้วยเชลล์ที่มีการเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆและเกิดใหม่ โดยที่เซลล์ใหม่จะถูกสร้างจากชึ้นล่างสุดติดกับหนังแท้และเจริญเติบโตขึ้นแล้วค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วก็กลายเป็นขี้ไคล (keratin) หลุดลอกออกไป
นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่างกันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
2. หนังแท้ (dermis)
เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างถัดจากหนังกำพร้า แต่หนากว่าหนังกำพร้ามากจะประกอบด้วยโปรตีนหลัก 2 ชนิด คือ เนื้อเยื่อ คอลลาเจน (collagen) และเนื้อเยื่อ อีลาสติค(elastic) คอลลาเจน(Collagen) ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ผิวหนัง
และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่บาดเจ็บ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณมากก็เกิดเป็น แผลเป็นนั่นเองส่วน อีลาสติน (Elastin)liสร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง และในชั้นหนังแท้นี้ยังเป็นที่อยู่ของ หลอดเลือด เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป
3. ชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous tissue)
หรือ ชั้นไขมัน (Subcutaneous) ประกอบด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก ความหนาขึ้นกับปริมาณไขมันของแต่ละบุคคล ชั้นนี้ทําหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย คล้ายฉนวนกันความร้อนช่วยลดแรงกระทบกระแทกจากภายนอก
และชั้นไขมันที่มีมากโดยเฉพาะบริเวณสะโพก เอว ต้นขา ที่เรียกว่า cellulite คือไขมัน ที่มีเนื้อเยื่อคล้ายพังผืดแทรกอยู่ทําให้เกิดการดึงรั้งผิวหนังเห็นเป็นลอนๆจากภายนอกการเกิด celluliteไม่ขึ้นกับ ปริมาณของไขมันในร่างกายคนผอมก็มี cellulite
ซึ่งชั้น Epidermis เป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น การป้ายยาให้คนสลบต้องใช้ยาในปริมาณมากและความแรงสูง นอกจากนี้ ต้องใช้เวลานานยาถึงจะสามารถซึมผ่านผิวหนังและออกฤทธิ์ได้
จึงสรุปได้ว่ายาป้ายไม่มีจริง ถ้ายาป้ายแล้วหลับมีจริง คงเป็นที่ต้องการอย่างมากของวงการแพทย์กันเลยทีเดียว ใช้สติก่อนเสพข่าวกันนะคะ
#ยาสลบ #เรื่องทั่วไป #ความรู้รอบตัว #Howto #ความรู้ติดหัว #สมัครufabet1688