“วิธีทำให้สมองโฟกัส” โดย คริส ไบเล่ย์
“ถ้าจะให้บอกสิ่งๆ หนึ่งที่ผมค้นพบหลังจากได้ใช้เวลาโฟกัสลงไปอย่างลึกในโลกใบนี้
ผมคงจะบอกว่ามันคือขั้นของความใส่ใจ เพราะมันจะเป็นสิ่งที่กำหนดชีวิตเรา” Chris Bailey
ในบทความนี้ คริสต์ ไบเล่ย์ นักพูดและนักประพันธ์เจ้าของหนังสือ Hyperfocus ได้มาแชร์ กุญแจสำคัญในการโฟกัส เพื่อนำไปสู่การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ตลอดจนการใช้ชีวิตที่มีความหมายความ

โดยคริสต์ได้เริ่มเล่าเรื่องว่าประมาณสามสี่ปีที่แล้วเขาได้เริ่มที่จะสำรวจพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เขารู้กังวลใจ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ “ การใช้เวลาที่มากเกินไปบนโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสาร” ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขาตื่นนอนตอนไปจนถึงช่วงท้ายของวันชีวิต
ซึ่งก็ก็เปรียบวงจรชีวิตของเขาเหมือนกับซีรีส์นึงที่ฉายทางทีวีที่มักจะมีเรื่องราววางเป็นพล็อตไว้เหมือนกับชีวิตประจำวันเขา ซึ่งคริสต์จะเริ่มโดยการตื่นนอนแล้วจะดูโทรศัพท์ในขณะที่เขานั่งอยู่บนเตียง เขาจะนั่งดูวีดีโอการทำอาหารเยอะมากใน Instagram หลังจากนั้นก็จะเปิดแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ไปด้วย
เมื่อเขาลุกออกจากเตียงมาได้แล้ว เขาก็จะเดินไปที่ครัวเพื่อที่จะทำอาหารเช้า แล้วในขณะที่ทำอาหารอยู่ที่ครัว เค้าก็จะเริ่มใช้ ที่อยู่ข้างเตาอบมาใช้ในการทำงานไปด้วย จนกระทั่งมีเสียงเตือนจากข้อนาฬิกาข้อมือดังเพื่อเตือนให้เขารู้ว่าอาหารเสร็จแล้ว เสียงบีบครั้งนี้ดึงสติเขาให้กลับมาพิจารณาพฤติกรรมของเขา
- เขาจึงสรุปได้ว่าเขาใช้เวลากับเครื่องมือสื่อสารมากเกินไปโดยเฉพาะโทรศัพท์ ซึ่งเวลาที่เขาใช้บนโทรศัพท์นั้นเขาควรที่จะแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นซะมากกว่า ดังนั้นคริสต์จึงได้ตั้งใจมีจะมีเป้าหมายใหม่ในการจัดการกับพฤติกรรมของเขา
โดยทำเป็นงานวิจัยเล็กๆ นั่นก็คือ การจำกัดเวลาที่จะใช้บนเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดให้ตัวเองเพียงแค่ 30 นาทีต่อวัน ใน 30 นาทีนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น เวลาที่เขาจะดูแผนที่ เวลาที่เขาจะโทรหาแม่ เวลาที่เขาจะใช้ในการทำงานรวมไปถึงฟังเพลงและฟังพ็อดแคสต์
เขาค่อยๆ ศึกษาและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของเขา ซึ่งผลในช่วงแรกที่เริ่มเห็นก็คือ เขาเริ่มมีแรงกระตุ้นในการใช้เครื่องมือสื่อสารน้อยลงและมีความจดจ่อกับสิ่งรอบข้างได้มากขึ้น นอกจากนั้นเขาก็ได้ตั้งสมมุติฐานและข้อสรุป ที่ว่า
สิ่งแรกก็คือช่วงเวลาการสนใจของเขาในสิ่งๆหนึ่งมีมากขึ้น
- เขาอธิบายว่า เขาเริ่มที่จะสามารถจดจ่อในหลายสิ่งแบบจริงจังได้ดีขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องพยายามมากเมื่อก่อน และในขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบว่าจิตใจของเขาเริ่มนิ่งไม่วอกแวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขากลายเป็นคนที่มีเป้าหมายมีการวางแผนในการทำสิ่งต่างๆได้ชัดเจนขึ้น

สอง ทำไมถึงต้องทำการวิจัยนี้ด้วย
- เขาสังเกตได้ว่าในในหลายปีที่ผ่านมามันเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะทำให้เขาเอาความยั่วยุออกไปจากสมองได้ เขาได้ศึกษางานวิจัยเป็น 100 เล่ม
ในช่วงที่เขาใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศ ซึ่งเปรียบเสมือนกับหนังฆาตกรรมที่พอตำรวจจะทำการตามหาคนร้าย ตำรวจก็จะเอารูปเอาเครื่องมามาติดที่บอร์ด ระโยงระยางไปหมด เขาพยายามที่จพแก้ปมต่างๆ ออกมา
เขาต้องบินไปปรึกษาหานักเชี่ยวชาญทางด้านการมีการมีการจดจ่อที่ดีเพื่อที่จะทำให้การทดลองของเขาดำเนินและไขข้อข้องใจ ซึ่งตัวเองนั้นมีโน้ตเป็นคำอธิบายที่ประกอบไปด้วย 25,000 ทำที่เขาใช้มาเป็นคำตอบว่าทำไมเคสนี้ถึงเกิดขึ้น
สามเทคโนโลยีมีแรงจูงใจต่อความสามารถในการจดจ่อของเราหรือไม่
- คริสต์เริ่มที่อยากจะหาคำตอบมากขึ้น ว่าเราจำเป็นต้องมีความจดจ่อที่ยาวนานและควบคุมสิ่งรอบข้างได้มากขนาดไหน ซึ่งผลงานวิจัยครั้งนี้มันน่าถึงมาก ผลปรากฏว่าถ้าเราทำงานต่อหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปโดยเฉพาะเวลาที่โทรศัพท์อยู่ใกล้
เราจะสามารถมีการจดจ่อกับสิ่งอื่นได้แค่ 40 วินาทีเท่านั้นและสวิตต์กลับมาที่โทรศัพท์ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เราทำงานความสามารถในการจดจ่อยิ่งจะลดลงมาอยู่ที่แค่ 35 วินาทีเท่านั้น แล้วก็จะสวิสต์กลับไปหาโทรศัพท์
อย่างไรก็แล้วแต่ คริสต์ได้สรุปเหตุผลที่ทำให้งานวิจัยนี้เกิดขึ้นเพราะว่าปัญหาที่เจอมันไม่ได้เกี่ยวกับสมองที่มันถูกหลอกล่อจากสิ่งรอบข้าง แต่เขาได้ค้นพบว่าปัญหาที่ลึกลงไปนั้นก็คือการสูญเสียการจดจ่อ
เพราะจริงๆ แล้วสมองคนเรานั้นมันไม่ได้สูญเสียการจดจ่อไปเอง แต่สมองของเราโดนสั่งการอยู่โดยเส้นประสาทเล็กๆ ที่เต็มด้วยงาน อีเมลล์ โชเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวทำให้สมองจดจ่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ฉะนั้นเทคโนโลยีจึงมีแรงจูงใจในการจดจ่อของสมองเรา ซึ่งถ้าเราเอาตัวเองออกห่างจากสิ่งพวกนี้ เราก็จะมีความสามารถในการจดจ่อสิ่งรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น
#วิธีทำให้สมองโฟกัส