หูดเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากชื้อไวรัส มีลักษณะเป็นตุ่มหนาบริเวณเล็บมือหรือเท้า ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ก็ทำให้เสียบุคลิกภาพ ดังนั้นการรักษาผิวหนังบริเวณเล็บมือและเท้าให้สะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และดอกกะหล่ำเป็นผักที่สามารถรักษาโรคนี้ได้
คุณค่าทางสารอาหารของกะหล่ำ
ดอกกะหล่ำเป็นพืชตระกูลเดียวกับคะน้า บร็อกโคลี ซึ่งเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงนิยมนำมาผัดผักใสในแกงส้ม ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริก นอกจากความอร่อยแล้วดอกกะหล่ำยังมีวิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 สังกะสี โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน และสารกลูโคไซโนเลท (Glucoinolates) สารไอโซไทโอไซยานท (Isothiocanates) และสารอินโคล (Indoles) ซึ่งเป็นสารช่วยยับยั้งการก่อตัวของสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ดอกกะหล่ำช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและช่วยผลิตเฮโมโกลบิน อันเป็นเม็ดเลือดแดงที่สำคัญ ช่วยป้องกันโรคผิวหนังเช่น โรคผืนดัน ผิวอักเสบ หอบหืด อีกทั้งยังบำรุงผิวให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล เพราะมีวิตามินซี และวิตามินบี 3 มีวิตามินบี 5 ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ มีโพแทสเซียมสูงซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิต นอกจากนี้สาระสำคัญที่มีในดอกกะหล่ำ อาทิ สารอินโคล (ndoles) สารกลโคไซโนเลท (Glucoinolates) สารไอโซไทโอไชยาเนท (isothiocyanates) สารฟีโนลิกส์ (phenolics) และสารไดไทอัลไทโอน (Dithiolerhiones) เป็นสารที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งบางชนิด ช่วยยับยั้งการก่อตัวของสารมะเร็ง และยังช่วยรักษาโรคผิวหนัง โรครื้อนกวาง โรคหูด และโรคเชื้อราบนผิวหนังได้ด้วย
สูตรน้ำดอกกะหล่ำกำจัดหูด
ส่วนประกอบ
ดอกกะหล่ำ 1 หัว
วิธีทำ
ล้างดอกกะหล่ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นขนาดเล็กใสลงในเครื่องปั่น กรองกากทิ้ง นำน้ำกะหล่ำที่ได้มาทาบริเวณหูดทุกวัน จนกว่าหูดจะหลุดออกไป
สรรพคุณ
น้ำดอกกะหล่ำมีสารไอโซไทโอไชยาเนท (sothiocvanates) และสารอินโคล เป็นสารช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและยับยั้งการก่อตัวของเชื้อโรค ช่วยรักษาโรคหูด ตาปลา แผลเรื้อรัง
ข้อควรระวัง
ดอกกะหล่ำมีสาร Goitrin ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้แก่ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ได้
ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
#ดอกกะหล่ำ #กำจัดหูด #ฝากเงินขั้นต่ำ100บาท