บอกเล่าการจัดงานแต่งงานของอินเดีย

บอกเล่าการจัดงานแต่งงานของอินเดีย เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ การจัดงานแต่งงานของอินเดีย

            ในยุคสมัยที่แนวคิดตะวันตกได้เข้ามาทำให้ประเพณีการแต่งงานของคนในต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไปและมีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย แต่ยังมีประเทศหนึ่งที่การแต่งงานนั้นเหมือนกับว่าได้หยุดอยู่กับที่ในวัฒนธรรมของเขาดังในอดีตที่ผ่านมา นั่นก็คือ “การแต่งงานของอินเดีย” นั่นเอง กล่าวมาถึงตรงนี้หลายคนก็คงเห็นด้วยกับสิ่งที่เราบอก เพราะการแต่งงานของอินเดียยังคงมีแนวคิด ความเชื่อตามแบบโบราณที่ไม่เหมือนประเทศอื่น อีกทั้งยังมีความศักดิ์สิทธิ์มากจนเรียกได้ว่า “หากคู่บ่าวสาวได้เข้าพิธีแต่งงานอินเดียแล้วก็ยากที่จะคิดหย่าร้าง” ความพิเศษของการจัดงานแต่งงานอินเดียจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ตามไปอ่านกันดีกว่า – ความเชื่อในการจัดงานแต่งงานของอินเดีย                คนอินเดียมีความเชื่อในการจัดงานแต่งงานว่า การสร้างครอบครัวเป็นเสมือนการล้างบาปและเป็นการตอบแทนพระคุณให้แก่พระเจ้า ซึ่งท่านจะประทานพรและความสุขมาให้แก่ครอบครัวของญาติเจ้าบ่าว ญาติเจ้าสาว และคู่บ่าวสาวด้วย ซึ่งคนอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู จึงเปรียบเปรยเคารพเจ้าบ่าวว่าเป็นเหมือนพระนารายณ์ และเจ้าสาวเป็นเหมือนพระแม่ลักษมีที่เป็นชายาคู่องค์เทพพระนารายณ์ ทำให้มองว่าเจ้าบ่าวมีอำนาจสูงสุด ครอบครัวเจ้าสาวจึงต้องออกค่าสินสอดที่นำมามอบให้ครอบครัวฝ่ายชายไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการแต่งงานของอินเดียทั้งหมดด้วย ซึ่งบางครอบครัวก็เคร่งครัดถึงขนาดเรียกสินสอดเยอะจนครอบครัวเจ้าสาวไม่สามารถหามาได้ทันจนหมดโอกาสแต่งงานก็มีแม้สมัยนี้จะน้อยแล้ว – ขั้นตอนพิธีการแต่งงานของอินเดีย เจ้าบ่าวจะเดินทางมาพร้อมขวบแห่ที่เป็นรถคันใหญ่ที่พวงมาลัยดอกไม้เต็มคันเป็นขบวนยาวมาที่บ้านเจ้าสาวซึ่งอีกฝ่ายรออยู่แล้ว เมื่อมาถึงเจ้าบ่าวก็ต้องนำของขวัญมอบให้ญาติหรือเพื่อนเจ้าสาวที่กั้นประตูอยู่จึงจะผ่านประตูเข้าไปได้ ในขั้นแรกของการเริ่มพิธีแต่งงานอินเดีย จะเป็นพิธีงานชัยมาลาหลังจากเปิดม่านให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวเห็นหน้ากันที่ปรัมพิธีกลางบ้าน โดยเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะแลกมาลัยคล้องคอก่อนจะนั่งลงคู่กัน และระหว่างพิธี ครอบครัวและญาติของทั้งสองฝ่ายจะทำความรู้จักซึ่งกันและกัน โดยการพูดคุย แลกพวงมาลัยและของขวัญ เป็นสัญลักษณ์ว่าทั้งสองฝ่ายได้เกี่ยวดองเป็นครอบครัวเดียวกันแล้วเรียบร้อย แล้วก็แลกเปลี่ยนของขวัญ เช่น เสื้อผ้าและของมีค่าต่าง ๆ เป็นการบอกว่าพวกเขาเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว หลังเสร็จจากการแลกของขวัญและพูดคุยทำความรู้จักในหมู่เครือญาติเจ้าบ่าวเจ้าสาวแล้ว พราหมณ์ก็จะทำพิธีสวดบูชาไฟและให้พรกับคู่บ่าวสาว ก่อนที่ทั้งคู่จะต้องจูงมือกันเดินรอบกองไฟ 7 รอบพร้อมกล่าวคำมั่นสัญญาที่จะรักและร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันอย่างเคร่งครัด หลังจากการกล่าวคำมั่นสัญญา พ่อแม่ของครอบครัวทั้งสองก็จะเข้ามาให้พรกับคู่บ่าวสาว พ่อเจ้าสาวต้องยื่นมือลูกเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว เป็นการร่ำลาจากครอบครัวที่อยู่ร่วมกันมานานและส่งต่อเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว […]