ควรจบที่รัฐสภาดีกว่าการชุมนุมต่อ

เมื่อนายปิยบุตร แสงกนกกุล ร่วมกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจหลายหมื่นล้าน ตั้งพรรคอนาคตใหม่ขึ้น พรรคการเมืองนี้มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องการลดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยใช้คำว่าปฎิรูป แต่ต่อมาพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรคเนื่องจากนายธนาธรให้เงินกู้กับพรรคโดยทำผิดกฏหมายพรรคการเมือง นายธนาธรและนายปิยบุตรได้ก่อตั้งคณะก้าวหน้าขึ้นโดยยังคงการเคลื่อนไหวนอกสภาแบบเดิมและจัดให้มีการชุมนุมแบบแฟรชมอบขึ้นหลายครั้ง การเกิดขึ้นของกลุ่ม ”เยาวชนปลดแอก” ที่มีแกนนำคือนายอานนท์ นำภา, นายพริษฐ์ ชีวารักษ์, นางสาวปนัสยา สิทธิปิยรัตนกุล, นายภาณุพงศ์ จาดนอก โดยจัดให้มีการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กค 2563 ต่อมามีการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า”ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อวันที่ 10 สค 2563 ที่นางสาวปนัสยาได้ขึ้นไปอ่านแถลงการณ์ 10 ข้อที่เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงการก้าวล่วงต่ออำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในงานนี้มีการเปิดคลิปของนายปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ บุคคลซึ่งหนีคดีอาญามาตรา 112 ไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นนายปวิณเป็นคนที่แสดงจุดยืนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแข็งขัน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่สังคมไทยเริ่มจะทนไมได้ ต่อมากลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้งจนในที่สุดก็เปลี่ยนมาเป็น ”คณะราษฎร 2563” ในปัจจุบัน เหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้คนไทยอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมในวันที่ 13 กันยายน พศ 2563 เมื่อผู้ชุมนุมเข้าไปล้อมรถของสมเด็จพระราชินีและองค์รัชทายาทและขว้างปารถพระที่นั่งตลอดทั้งร่วมกันด่าว่าทั้งสองพระองค์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่อมาคณะราษฏร 2563 ได้จัดการชุมนุมเป็นรายวันขึ้นมาอีกหลายครั้ง โดยเริ่มมีการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงด้วยด้วยถ้อยคำหยาบคาย เอาสีไปเทลงพื้นและใส่ป้ายและเขียนถ้อยคำด่าว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จนคนไทยหลายคนไม่อยากแม้แต่จะมองเห็นภาพหรือจะทนฟังได้ การชุมนุมแต่ละครั้งเริ่มมีความก้าวร้าวหยาบคายขึ้นเรื่อยๆ มีการมั่วสุมดื่มสุราร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานจนไม่เหมือนการชุมนุมประท้วงตามปกติ เหมือนกับเป็นการออกมาชุมนุมเพื่อปลดปล่อยความบ้าคลั่งของตนเองมากกว่า […]