ความแตกต่างของ “น้ำปรุง” กับ “น้ำอบ”

เราเชื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ส่วนใหญ่ก็คงเป็นผู้หญิงกันทั้งนั้น แต่เราก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นแค่สตรีที่เข้ามาศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ เพราะบุรุษที่อยากรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องหอมก็มีมากมายและเรามั่นใจได้ว่าพวกคุณคงจะมีนิสัยช่างละเอียดลออแน่นอน เพราะมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างพิถีพิถันและบางคนก็ยังเข้าใจคำว่า “น้ำปรุง” กับ “น้ำอบ” มาแบบผิด ๆ คิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดเลย – น้ำปรุง น้ำปรุง หรือที่เราเรียกกันว่า “น้ำหอม” เป็นเครื่องหอมแต่โบราณที่ได้มาจากการสกัดกลิ่นหอมชวนน่าภิรมย์ของดอกไม้ซึ่งแต่ละน้ำปรุงจะใช้เพียงดอกไม้ชนิดเดียว แต่ในอดีตเมืองไทยเรามักจะใช้ดอกไม้ที่หาได้ง่าย ๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกโมก ดอกจำปี ดอกลำดวน เป็นต้น โดยมีกระบวนการทำน้ำปรุง คือ ใช้วิธีร่ำดอกไม้สดในน้ำสะอาดตลอดเวลาโดยไม่ต้องไปทำอะไร เป็นเวลา 25 วัน และต้องมีการผลัดเปลี่ยนดอกไม้ตามกระบวนปรุงบ่อย ๆ เพื่อให้คงกลิ่นหอมไม่สร่างหายไปและได้น้ำปรุงที่มีคุณภาพ ก่อนจะนำไปอบควันเทียนทุก ๆ 4 ชม. หลังจากนั้นจึงทำการหมักผสมรวมกับวัตถุดิบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเทศและสมุนไพรเพื่อไม่คงกลิ่นหอมสดชื่นมากขึ้น แล้วจึงหมักทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ในระยะนี้ห้ามมีการเปิดภาชนะออกมาเพราะจะทำให้การหมักมีประสิทธิภาพลดลง จำเป็นต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อครบกำหนดแล้วคุณก็จะได้น้ำปรุงออกมาใช้ประทินผิวชนิดที่เรียกว่า “หอมติดกระดาน” แล้ว แต่สมัยนี้ก็มีน้ำหอมหรือน้ำปรุงจากต่างประเทศเข้ามามากมาย มีกลิ่นหอมมากกว่าดอกไม้ไทยที่จะเน้นความสดชื่นแบบอ่อนหวานทำให้น้ำปรุงดอกไม้ไทยเริ่มหายไปตามกาลเวลา และมีราคาแพงกว่าน้ำหอมต่างประเทศเยอะ – […]