จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยในประเทศไทย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก แต่ถ้าจะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของแนวความคิดทางประชาธิปไตยจริงๆ ต้องย้อนหลังกลับไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีแนวพระราชดำริในการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทยของเราไว้แล้ว – รัชกาลที่ 5 ทรงวางรากฐานประชาธิปไตย ในความเป็นจริงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2416 ได้ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ แต่สภาทั้งสองก็ไม่ได้เสนอความเห็นในการปรับปรุงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก ทรงโปรดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “ร่างรัฐธรรมนูญแผ่นดินของพระปิยมหาราช” แสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ 5 ทรงส่งเสริมแนวทางของประชาธิปไตยและวางรากฐานเอาไว้ตั้งแต่รัชกาลของพระองค์แล้ว และทรงมีดำริที่จะให้พระราชโอรสของพระองค์เป็นผู้มอบรัฐธรรมนูญและรัฐสภาให้กับประชาชนต่อไป – รัชกาลที่ 6 กับแนวทางประชาธิปไตย เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่ากบฎ ร.ศ. 130 ขึ้นในปีพ.ศ. 2454 โดยกลุ่มคนที่ต้องการโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยได้ก่อการกบฏขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้พระเจ้าอยู่ยอมลงมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และถ้าไม่ทรงยินยอมก็จะเชิญเจ้านายในราชวงศ์จักรีพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐไทย แต่การก่อกบฏก็ทำไม่สำเร็จ กลุ่มผู้ก่อการกบฏครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นนายทหารหนุ่มในระดับนายร้อย ภายหลังพระเจ้าอยู่หัวทรงลดหย่อนโทษให้โดยลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต 3 คน จำคุก 20 ปี จำนวน 20 คน […]