ทำไมการปฏิบัติธรรมบางวัดจึงให้ “ปิดวาจา”

หลายคนที่เคยเข้าไปปฏิบัติธรรมในสำนักสงฆ์หรือวัดบางแห่งที่เคร่งเรื่องกฎระเบียบอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องให้มีการปิดวาจาหรือห้ามพูดคำใด ๆ กับผู้อื่นด้วยไม่ว่าจะเป็นคำพูดธรรมในแง่บวกหรือแง่ลบก็ตาม ซึ่งกว่าจะผ่านมาได้ก็เล่นเอาแอบอึกอัดเหมือนกันสำหรับนักปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่อย่างเรา ๆ หากใครที่อยากลองไปปฏิบัติธรรมท่ามกลางกฎเหล่านี้เพื่อรักษากาย วาจา ใจอย่างแท้จริงก็ควรรู้ไว้ก่อนว่าเหตุใดการปิดวาจาจึงมีความสำคัญมาก – การปิดวาจาทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น การที่เราปิดวาจาโดยไม่พูดสิ่งใดออกมาตามที่ใจคิดหรืออยากระบายออกมาให้ใครก็ได้ฟังด้วยระเบียบเหล่านี้ระยะแรกอาจจะรู้สึกไม่สบายใจง่าย ๆ แต่หากผ่านไปหลายวันเราก็จะสามารถรู้ถึงผลจากการที่ปิดวาจาได้ด้วยตัวเอง เพราะเมื่อเราไม่ได้พูดสิ่งใดออกไป ใจของเราก็จะติดอยู่คำเหล่านั้นและสมองก็จะเริ่มพูดโต้ตอบกับตัวเองเพื่อทดแทนการที่ไม่สามารถออกเสียงได้ ทำให้เราสามารถเข้าใจในคำถามและหาคำตอบของปัญหา การตัดสินใจต่าง ๆ ด้วยตัวของเราเอง แทนที่จะฟังแต่คนอื่นจนอาจหลงไปกับคำของบางคนที่อาจมาร้ายในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ – การปิดวาจาเป็นการระงับไม่ให้คำพูดทำร้ายคนอื่น การปิดวาจาสามารถช่วยให้เราที่ปฏิบัติธรรมไม่เผลอพูดในคำหรือประโยคที่อาจสื่อสารออกมาในเชิงทำร้ายจิตใจที่บริสุทธิ์ของคนอื่นได้แม้บางคนจะไม่รู้ตัวก็ตาม เพราะในโลกของเรานั้น มนุษย์มีนิสัยและที่มาแตกต่างกันทำให้ความคิดของทุกคนไม่อาจเหมือนกันและไปในทางเดียวกันได้ซึ่งหากเราเผลอพูดออกไปก็อาจส่งผลให้จิตใจที่สงบเกิดความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลงซึ่งเป็นนิวรณ์ทางพระพุทธศาสนาที่เมื่อเกิดแล้วก็ย่อมยากจะดับลง – การปิดวาจาเป็นการแสดงความเป็นกลาง เราไม่อาจรู้ว่าการแสดงความคิดเห็นหรือมุมมองที่เราได้ตัดสินใจเอนเอียงไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะนำมาซึ่งความขัดแย้งหรือภัยที่มาถึงตัวของทุกคนหรือไม่ การเป็นกลางโดยปิดวาจาไม่พูดอะไรจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการไปปฏิบัติธรรมในวัดเพื่อละความคิดทางโลกและอยู่แต่ในธรรมะ ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่มีการพูดเรื่องราวทางโลกมาเกี่ยวข้อง หากไม่พูดก็จะทำให้ไม่คิด แต่ถ้าพูดออกไปแค่เพียงครั้งเดียวก็ย่อมต้องอยากพูดครั้งต่อ ๆ ไปอีกเหมือนการติฉินนินทาผู้อื่นที่มนุษย์ชอบทำกันอย่างไรเล่า รูปภาพประกอบ : Pixabay #เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #ทำไมการปฏิบัติธรรมจึงให้ปิดวาจา