ประชาธิปไตยไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475

ประชาธิปไตยไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ ประชาธิปไตยไทยปี2475

เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์ปี 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 คณะราษฎรได้เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในระบอบประชาธิปไตย วันที่ 20 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาทำการยึดอำนาจและแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ต่อมามีการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ในระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมยกร่างกฎหมายหลายฉบับเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงเห็นด้วยกับกฎหมายหลายฉบับของรัฐบาล และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 รัฐบาลได้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลพระโอรสในกรมหลวงสงขลานครินทร์ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ประชาชนเริ่มรู้สึกว่าประเทศชาติอยู่ในบรรยากาศของประชาธิปไตยมากขึ้น วันที่ 16 ธันวาคม 2481 รัฐบาลแพ้การโหวตในสภาจึงยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายหลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นานและมีกระแสต่อต้านเกิดขึ้นเป็นระยะ แต่ก็เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชาชนได้มีส่วนในการเลือกตั้งและผู้มีอำนาจสูงสุดในบ้านเมืองคือนายกรัฐมนตรีก็คือสามัญชน  วันที่ 1 สิงหาคม 2487 จอมพลป.พิบูลสงครามลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายปรีดี พนมยงค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยในขณะนั้น ต่อมานายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสรรหาผู้เหมาะสมมาเป็นนายกรัฐมนตรีและเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อไป […]