ประชานิยมในประเทศไทย

ประชานิยมเป็นนโยบายทางการเมืองที่รัฐบาลของหลายประเทศนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมจากคนในประเทศโดยเฉพาะในระดับรากหญ้าเพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงสำหรับพรรคของตนเองแต่การทำโครงการประชานิยมนั้นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากหากไม่ควบคุมให้พอเหมาะแล้วอาจส่งผลเสียอย่างรุนแรงกับประเทศดังมีตัวอย่างในหลายประเทศให้เห็นแล้ว ประเทศไทยนำนโยบายประชานิยมมาใช้เพื่อสร้างความนิยมจากประชาชนมานานแล้ว สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเคยมีโครงการเรียนฟรี 15 ปี รถเมล์รถไฟฟรี แจกเงินประชาชน แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยของนายทักษิณ ชินวัตร มีโครงการกองทุนหมู่บ้าน นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค โครงการ SML ซึ่งสร้างความนิยมให้กับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคซึ่งได้รับความชื่นชอบมาก ส่งผลให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีความมั่นคงและสามารถอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานและส่งผลมาถึงปัจจุบัน ต่อมาสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนโยบายประชานิยมออกมาหลายเรื่องประกอบด้วย นโยบายยกเว้นภาษีบ้านหลังแรก นโยบายลดภาษีรถคันแรก นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ นโยบายแจกแท็บเล็ตฟรีให้นักเรียน นโยบายลดภาษีนิติบุคคล นโยบายลดภาษีน้ำมัน นโยบายพักหนี้เกษตรกร แต่ที่สร้างความเสียหายมหาศาลให้ประเทศชาติคือโครงการรับจำนำข้าวที่มีการทุจริตและสร้างหนี้ทำให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบต้องติดคุกในคดีอาญาหลายสิบปี รัฐบาลปัจจุบันของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็นำนโยบายประชานิยมมาใช้หลายเรื่องโดยเปลี่ยนไปใช้ชื่อโครงการประชารัฐแทนเพื่อหลีกเลี่ยงคำว่าประชานิยมซึ่งจะทำให้ถูกมองด้านลบ โครงการประชารัฐที่สำคัญของรัฐบาลคือ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านคนไทยประชารัฐ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น เมื่อประเทศประสบปัญหาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รัฐบาลต้องผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาภาคธุรกิจและประชาชนเร่งด่วน โดยออก พ,ร.ก. กู้เงินมาใช้เพื่อการนี้จำนวน 1 ล้านล้านบาท โดยจัดทำโครงการช่วยเหลือประชาชนผ่านเวปเราไม่ทิ้งกัน ลดค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาและคืนเงินประกัน ช่วยเหลือเกษตรกร สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสินและธกส. เราเที่ยวด้วยกัน […]