พระราชวังสวนจิตรลดาบ้านของพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งพระเจ้าอยู่ห้วรัชกาลที่ 9 ทรงราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ประสงค์ที่จะประทับอยู่เป็นการถาวรที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักจิตรลดารโหฐานสร้างขึ้นในสมัยรัฐกาลที่ 6 แต่เดิมพระองค์มีตำหนักเดิมชื่อตำหนักสวนจิตรลดา อยู่ในบริเวณวัง ปารุสกวัน เป็นที่ประทับตั้งแต่สมัยที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้สร้างพระตำหนักจิตรลดารโหฐานขึ้นในปี พ.ศ. 2456 บริเวณทุ่งส้มป่อย เพื่อเป็นสถานที่สำหรับทรงพระอักษร ทรงพระราชทานชื่อสถานที่นี้ว่าสวนจิตรลดา พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นอาคาร 2 ชั้นมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงยกสวนจิตรลดาให้เป็นเขตพระราชฐานในพระราชวังดุสิต จึงมักจะมีความสับสนระหว่างพระตำหนักจิตรดารโหฐานกับตำหนักจิตรลดาเดิมของรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นคนละสถานที่กัน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงตั้ง”โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา” ขึ้นในบริเวณพระราชวังสวนจิตรลดา เพื่อทดลองทำกิจกรรมด้านต่างๆ ทั้งทางการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ พลังงาน เพื่อการศึกษาทดลองและการประกอบธุรกิจและทรงนำองค์ความรู้ที่ได้ไปให้การศึกษาแก่ประชาชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภายในพระราชวังสวนจิตรลดามีการจัดสรรพื้นที่เป็นส่วนงานต่างๆ เพื่อทำการทดลองและการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น แปลงนาทดลองปลูกข้าว, โรงเลี้ยงโคนมและผลิตนม, บ่อเลี้ยงปลา, โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, โรงสีข้าว, หน่วยทดลองเชื้อเพลิง, โรงงานทำกระดาษสา, โรงงานทำเนยแข็ง, โรงวานทำน้ำดื่ม, โรงผลิตนมเม็ด, โรงงานทำน้ำผลไม้, โรงงานผลิตภัณฑ์อบแห้ง, โรงเพาะเลี้ยงสาหร่าย, โรงเพาะเห็ด, โรงงานผลิตภัณฑ์น้าผี้ง, […]