คลายข้อสงสัย 5 เรื่อง เกี่ยวกับราคาน้ำมันในไทย ที่หลายคนยังเข้าใจผิด

ปัจจุบัน น้ำมัน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพลังงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของผู้คนทั่วโลก เนื่องจากถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เมื่อเกิดวิกฤตราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับภาพรวมในทุกมิติทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันที่ทำให้เกิดความผันผวนสูง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนคิดเห็นไม่ตรงกัน และเกิดความเข้าใจผิดกันบ่อย ๆ ถึงราคาน้ำมันในไทย มาดูกันว่ามีประเด็นไหนบ้าง หากพร้อมแล้วไปกันเลย 1. ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้เอง แต่ทำไมจึงต้องนำเข้า ถึงแม้ว่าบ้านเราจะสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ แต่ปริมาณที่ผลิตได้กลับสวนทางกับความต้องการใช้ของผู้คนภายในประเทศ โดยเฉพาะในภาคการขนส่งที่ต้องตอบรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาจากต่างประเทศเพื่อกลั่นจนกลายเป็นน้ำมันสำเร็จรูปให้มีความเพียงพอต่อการใช้งานในภาพรวมทั่วไปนั่นเอง โดยข้อมูลจากกรุมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี จะมีการใช้น้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 77.28 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น 2. ราคาแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ตามหลักการแล้วราคาขายปลีกของน้ำมันประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคาของแต่ละประเทศ โดยไทยนั้นแบ่งได้ออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ คือ ต้นทุนน้ำมันจากโรงกลั่น ภาษี กองทุน และค่าการตลาด รวมถึงนโยบายที่ทางรัฐบาลได้กำหนดขึ้น หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วราคาน้ำมันในไทยแทบจะไม่มีความแตกต่างจากที่อื่น ๆ แถบอาเซียนด้วยกันเอง แต่ที่บางประเทศมีราคาที่ต่ำกว่าอย่างมาเลเซียและบรูไน เหตุผลเพราะเป็นผู้ผลิตน้ำมัน […]