พามารู้จัก “ลำนำโวหาร” หัวใจสำคัญของการเขียนเรื่องราว

ในวิชาภาษาไทยเราอาจจะเคยได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ “ลำนำโวหาร” ซึ่งต้องเรียนรู้การแยกประเภทของโวหารมากมายโดยการวิเคราะห์ตัวอย่างซึ่งสมัยนั้นเราก็ได้แต่สงสัยว่าจะเรียนเพื่ออะไร ในเมื่อชีวิตจริงก็ไม่ต้องใช้อยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าการที่คุณสามารถแยกประเภทลำนำโวหารได้จะเป็นประโยชน์ในการที่จะเลือกหาหนังสือสักเล่มในการอ่านเพื่อสาระความรู้และความบันเทิงโดยแค่ดูจากการใช้สำนวนในหน้าปกก็สามารถวิเคราะห์ถึงความน่าสนใจของหนังสือได้แล้ว ยิ่งหากคุณเข้าใจเรื่องของลำนำโวหารก็จะยิ่งรู้วิธีเลือกหนังสือที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสำหรับใครที่อยากเป็นนักเขียนก็ยิ่งต้องศึกษาเรื่องนี้ให้มาก แค่เพียงได้รู้จักโวหารทั้ง 5 รูปแบบก็สามารถทำให้คุณก้าวเข้าสู่การเป็นนักเขียนที่ดีได้ในเบื้องต้นแล้ว ว่าแต่โวหารทั้ง 5 มีอะไรบ้างไปดูกันดีกว่า – บรรยายโวหาร บรรยายโวหาร คือโวหารที่ใช้ในการบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเชิงบอกเล่า อธิบายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด จึงมักเลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมาย ตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน และไม่อ้อมค้อม ยกตัวอย่างเช่น จากการสัมภาษณ์ข่าวกับนักโบราณดีของอังกฤษในวันนี้พบว่า บริเวณใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียนมีซากเรือโจรสลัดลำใหญ่ที่อายุไม่ต่ำกว่า 100 ปีซึ่งภายในมีสิ่งของล้ำค่ามากมายถูกทับกันใต้ซากเรือซึ่งจะต้องนำไปพิสูจน์อายุกันต่อไป เป็นต้น – พรรณนาโวหาร พรรณนาโวหาร คือโวหารที่ใช้ในการพรรณนาถึงบรรยากาศ ความงดงาม และรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยมีการนำความรู้สึกนึกคิดเข้ามาใช้ร่วมด้วยทั้งบุคคล สิ่งของ และสถานที่ ในบางครั้งอาจมีการบรรยายที่ใส่รายละเอียดเชิงลึกให้คนทั่วไปมองเห็นในมุมมองของผู้พรรณนา ยกตัวอย่างเช่น ณ เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขาที่เรียงตัวกันเป็นแนวยาวสลับซับซ้อนควรจะถูกความมืดมิดเข้ากลืนกิน ทว่าแสงสว่างของดวงจันทร์กลับฉายส่องลัดภูเขาเข้ามาถึงจัตุรัสกลางเมืองที่มีอนุสรณ์สีทองของวีรชนที่เสียสละชีวิตทำให้ปะติมากรรมนั้นมีความโดดเด่นเปล่งประกายท่ามกลางหมู่บ้านยามราตรีที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นต้น – […]