แนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่

แนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ เรื่องทั่วไป เกร็ดความรู้รอบตัว เทคนิคต่างๆ สาระน่าสนใจ เกษตรทฤษฎีใหม่

วิถีทางการทำการเกษตรของเกษตรกรไทยในอดีตที่ผ่านมาอยู่บนพื้นฐานของวิธีการทำเกษตรเชิงเดี่ยวคือการปลูกพืชชนิดเดียวตามความต้องการของตลาดและพึ่งพิงเงินทุนสำหรับทำการเกษตรโดยการกู้เงินมาจากแหล่งเงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยทำการเกษตรภายใต้องค์ประกอบที่ควบคุมไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งราคาผลผลิตหรือต้นทุนไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือปุ๋ย เคมีและยาฆ่าแมลง สุดท้ายก็ตกอยู่ใต้กับดักของระบบเกษตรแบบทุนนิยม โดยตัวเกษตรกรเองต้องตกเป็นหนี้ที่แทบจะไม่มีวันใช้หมดเพราะใช้หนี้ไปแล้วต้องกู้เพื่มต่อไปเริ่อ ยๆ สุขภาพก็เลื่อมโทรมลงเนื่องจากสำผัสกับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาตลอดชีวิต ปัญหาเหล่านั้เกิดจากการปลูกพืชตามกันของเกษตรเพื่อจะได้รายได้จากสินค้าเกษตรตามกระแสที่เปราะบางของตลาดโลก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมองเห็นปัญหาเหล่านี้ของเกษตรกรมาเป็นเวลานาน และทรงคิดหาแนวทางที่จะให้เกษตรกรหลุดพ้นหรือเป็นอิสระจากระบบนี้ ท่านจึงเสนอแนวทางเกษตรทฎษฎีใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรเปลี่ยนวิธีคิดและรูปแบบในการทำการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งในชีวิตสามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างพอเพียงและมีความเป็นอิสระ – การแบ่งพื้นที่ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ การเกษตรทฤษฏีใหม่นี้เหมาะกับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 10 ถึง15 ไร่ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าบ้างเล็กน้อยก็ได้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มี และให้ใช้แรงงานในครอบครัวของเกษตรกรเอง โดยทรงกำหนดให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ พื่นที่ส่วนแรก 30 เปอร์เซนต์ให้ปลูกข้าวเพื่อครอบครัวจะได้มีข้าวกินเพียงพอตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ให้ขุดสระน้ำเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรยามหน้าแล้งรวมทั้งให้เลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ เพื่อจะได้ใช้บริโภคด้วย พื้นที่ส่วนที่สาม 30 เปอร์เซ็นต์ให้ปลูกพืชผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ หรือไม้ยืนต้น ไม้ผลเพื่อบริโภค พื้นที่ส่วนสุดท้าย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับอยู่อาศัยรวมทั้งเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูหรือเพาะเห็ดเพื่อมีรายได้ – เกษตรทฤษฎีใหม่คือการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง แนวคิดของเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ไม่ใช่หมายถึงให้ใช้ชีวิตแบบประหยัดเกินไปจนกลายเป็นตระหนี่ถี่เหนียวแต่สอนให้มีความร่วมแรงร่วมใจกันในครอบครัวและมีงานทำร่มกันทั้งปีเพื่อให้มีข้าวและมีอาหารบริโภคได้ทั้งปี ส่วนที่เหลือก็แบ่งปันหรือขายเป็นรายได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศและราคาตลาดของพืชผลทางการเกษตร มีความพอเพียงในการใช้ชีวิตตามความเหมาะสมของตนเองและสามารถทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อทำการตลาดและการขายผลผลิตหรือทำข้อตกลงกับผู้บริโภครายใหญ่ต่อไป แม้ว่าการทำเกษตรทฤษฎีใหม่จะไม่สามารถทำได้ทุกครอบครัวและเกษตรกรต้องมีความเหมาะสมด้วยคือต้องเป็นคนขยันและมีพื้นที่ของตนเองที่มีความเหมาะสม เช่นสภาพของดินและแหล่งน้ำสนับสนุนแต่ก็เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรส่วนใหญ่ เกษตรทฤษฏีใหม่คือการทำเกษตรเพื่อสร้างความเข็มแข็งความเป็นอิสระและความสุข รวมถึงการส่งเสริมให้มีการสามัคคีกันในชุมชน มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเอกภาพในทางการตลาดและเป็นคำตอบที่ดีสุดในการทำให้เกษตรกรจะหลุดพ้นออกจากวงจรเดิมของการทำการเกษตรแบบเก่าโดยไม่ต้องเป็นทุกข์อีกต่อไป เครดิตภาพจาก Organic Farm […]